กทม. ยันยึด มาตรการโควิด ช่วง สงกรานต์ ตาม สธ. แม้มีการเรียกร้องให้ปรับ

กทม. ยันยึด มาตรการโควิด ช่วง สงกรานต์ ตาม สธ. แม้มีการเรียกร้องให้ปรับ

อัศวิน เผย มาตรการโควิด ใน กทม. ช่วงเทศกาล สงกรานต์ ยังคงยึดตามกระทรวงสาธารณสุขเช่นเดิม ห้ามสาดน้ำในที่สาธารณะและจัดคอนเสิร์ต พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกมาให้สัมภาษณ์หลังจากที่มีกระแสเรียกร้องให้ปรับมาตรการโควิดในช่วงสงกรานต์ หลังจากที่ทางที่ประชุม ศบค. สั่งห้ามไม่ให้มีการเล่นสาดน้ำในที่สาธารณะ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โดย พล.ต.อัศวิน ระบุว่า “จริงๆ ทาง สธ.กำลังหารือกับทางกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) 

ซึ่งก็จะต้องยึดมาตรการของทาง สธ.เป็นหลัก คนที่จะดูว่าสถานการณ์ควรจะทำอะไร สธ. จะเป็นฝ่ายกำหนดมาตรการต้องรอฟังเขา” ขณะที่ นพ.ชวินทร์ ศิรินาค รองปลัด กทม. กล่าวว่า สำหรับมาตรการ ณ ขณะนี้นั้น ให้ยึดตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ออกประกาศ คือให้สวมหน้ากากอนามัย และห้ามมีการเล่นสาดน้ำ ก็เน้นย้ำว่าห้ามเล่นน้ำ หรือสาดน้ำทุกรูปแบบ

แต่ยังให้มีพิธีรดน้ำดำหัวได้ สรงน้ำพระได้ และร่วมกิจกรรมประเพณีไทย เช่น ชมการแสดงรำ ที่นั่งชมแบบเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ส่วนการจัดแสดงคอนเสิร์ต หรือดนตรีนั้นยังไม่อนุญาตให้จัด

โครงการ ICS สานต่อแผนบุกเบิกสร้างเมืองฝั่งธนบุรี ตอบรับการขยายและเติบโตของเมือง โดยเฉพาะทำเลทองย่านคลองสานและเจริญนคร  ในอีก 2-3 ปีต่อจากนี้ คาดว่าจะมีคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 50 โครงการหรือราว 25,000 ยูนิต  รองรับการเคลื่อนย้ายประชากรจำนวนมาก  นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีแผนการย้ายที่ทำการหน่วยงานราชการ จาก ‘คลองหลอด’ ฝั่งพระนคร ไปยัง ‘คลองสาน’ ฝั่งธนบุรี โดยปักหมุดเป็นศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ไว้ใกล้บริเวณวัดเศวตฉัตรวรวิหาร ถนนเจริญนคร  อีกทั้ง โรงพยาบาลตากสินซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในย่านนี้ ยังมีการก่อสร้างอาคารรองรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 600 เตียง ส่งผลให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 300,000 ตำแหน่งในย่านธนบุรี

รบ. สร้าง ความมั่นคงด้านวัคซีน ผ่านยุทธศาสตร์ 5 ปี ป้องกันโรคอุบัติใหม่

รองโฆษกประจำสำนักนายก เผยรัฐบาลเตรียม สร้าง ความมั่นคงด้านวัคซีน ผ่านยุทธศาสตร์ 5 ปี ป้องกันโรคอุบัติใหม่ ตั้งงบ 14,326 ล้านบาท

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่ประเทศไทยได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด – 19 มากว่า 2 ปี รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการมีแผนสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันประชาชนจากโรคอุบัติใหม่ผ่านโครงการต่าง ๆ ซึ่งร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570 ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2565 ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าว

ทั้งนี้ ร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ จะเป็นแผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 ที่เข้ามารับช่วงต่อจากฉบับที่ 1 ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2565 ซึ่งจะเป็นกรอบในการขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาสู่ความมั่นคงด้านวัคซีนในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายและแผนพัฒนาระดับชาติ เช่น กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนยุทธศาสตร์ สธ. 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579 (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ตามร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 11 แผนงาน 67 โครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 ปี วงเงินงบประมาณรวม 14,326.54 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาระบบและบริหารจัดการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีประสิทธิภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน จำนวน 15 โครงการ อาทิ โครงการสำรองวัคซีนรองรับการระบาด โครงการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน (MR) ในกลุ่มเสี่ยง โครงการพัฒนา Big Data ฐานข้อมูลกลางการให้บริการวัคซีนและระบบ PHR ข้อมูลการรับบริการวัคซีนรายบุคคล โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและบริหารจัดการวัคซีน งบประมาณ 2,889.76 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยพัฒนา และอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนอย่างครบวงจร จำนวน 26 โครงการ อาทิ โครงการการพัฒนา adenoviral vector platform สำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนต้นแบบ โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีฐานสำหรับพัฒนาต้นแบบวัคซีนจาก Viral vectorเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ โครงการการพัฒนาต้นแบบวัคซีนเด็งกี่ (วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Dengue Vaccine)] เพื่อทดสอบในมนุษย์ การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโรต้า โครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์ โครงการการจัดตั้งโรงงานโดยใช้เทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยงในระดับต้นแบบและระดับอุตสาหกรรม โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดซื้อวัคซีนที่ผลิตในประเทศ งบประมาณ 9,911.38 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับภารกิจความมั่นคงด้านวัคซีน จำนวน 23 โครงการ อาทิ โครงการการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านวัคซีนอย่างครบวงจร โครงการสร้างความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยวัคซีนทางคลินิก โครงการการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนผ่านเครือข่ายความร่วมมือ งบประมาณ 315.8930 ล้านบาท

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป