เอาใจทาสแมว UCHINOKO MAKER วิธีเล่น แนะนำเกมสร้างแมวในฝัน ออกแบคาแรคเตอร์แมวกว่า 200 ล้านแบบ มาดูแมวที่ห้องเรามั้ย เราสร้างแมวเองเลยนะ ว่ากันว่า แมว เป็นสัตว์ที่กำลังจะครองโลก ด้วยความน่ารักขี้อ้อนที่เอาคนอย่างเรา ๆ ตกเป็นทาสโดยไม่รู้ตัว และล่าสุดก็ยิ่งทำให้เรางุ้ยย ได้มาขึ้นอีกกับ UCHINOKO MAKER เกมแต่งแมว กำลังเป็นที่ฮอตฮิตในญี่ปุ่นสุด ๆ กับเกมที่เรานั้นสามารถมีแมวเป็นของตัวเอง และยังสามารถปรับแต่งคาแรคเตอร์น้องได้ตามใจนึก มีรูปแบบให้เลือกกว่า 200 ล้านแบบ!!! เรียกได้ว่าแมวของเราจะไม่ซ้ำใครแน่นอน
รู้จัก UCHINOKO MAKER คืออะไร ?
แน่นอนว่าก่อนที่เราจะไปดู วิธีเล่นเกมแต่งแมวนั้น มาทำความรู้จักกับแอป UCHINOKO MAKER คืออะไร กันก่อนดีกว่า อูชิโนโกะ เมคเกอร์ เป็นแอปพลิเคชั่นออนไลน์ของทางบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง บ.GRIT โดยมีแนวคิดที่ว่าอยากให้ทางแมวทั้งหลายนั้นสามารถสร้างสร้างคาแรคเตอร์แมวได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหุ่น ใบหน้า หู ตา จมูก ปาก หรือแม้กระทั่งหาง ออกมาในรูปแบบของกราฟฟิกที่เป็นตัวของคุณเอง
สำหรับคำถามที่ว่าเราจะได้อะไรจากการเล่นเจ้าเกมแต่งแมว UCHINOKO MAKER ก็ต้องขอบอกเลยว่าเป็นการสนอง need ของทางแมวที่อยากได้แมวในรูปร่าง รูปทรงที่ถูกใจนั่นเอง กราฟฟิกทั้งหมดที่เราออกแบบนั้นก็สามารถนำมาใช้เป็นรูปโปรไฟล์ ใส่กรอบตกแต่งบ้านได้อย่างถูกลิขสิทธิ์ด้วยนะ
ถึงเวลาลงมือสร้างคาแรคเตอร์น้องแมวในฝันของเรากันแล้ว UCHINOKO MAKER วิธีเล่นอย่างไรบ้างตาม The Thaiger มาดูกันเลย
มีการหลุดออกมาของข้อมูลที่ว่าสมาร์ทวอทช์รุ่นต่อไปของ Samsung อย่าง Galaxy Watch5 อาจจะสามารถชาร์จไฟฟ้าได้ไวขึ้นกว่าเดิม (3 ส.ค. 2565) มีการรายงานถึงข้อมูลวงในที่ว่าสมาร์ทวอทช์รุ่นต่อไปของซัมซุง (Samsung) – Galaxy Watch5 นั้น อาจจะสามารถชาร์จไฟฟ้าเข้าตัวนาฬิกาได้ไวมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ ด้วยแท่นชาร์จไฟใหม่ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง
อ้างอิงจากการเปิดเผยของ SnoopyTech นักข่าววงในที่กล่าวไว้ว่า ที่ชาร์จไฟแบบแม่เหล็ก (magnetic charger) 10W นั้น จะถือว่าเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ชาร์จไฟได้ไวขึ้น เนื่องจากอัตราการชาร์จไฟสูงสุดได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับ Watch4
แต่ทว่าก็มีการคาดการณ์กันว่า Watch5 จะมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้ความเร็วในการชาร์จไฟนั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป และยากต่อการคาดการณ์ จากภาพที่ปรากฎออกมานั้น ก็แสดงให้เห็นว่ามันจะใช้งานหัวนำไฟแบบ USB-C ตามที่คาด (และเป็นมาตรฐานทั่วไป สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องจำหน่ายในสหภาพยุโรป)
ทำความรู้จัก Flightradar24 บริการติดตามการเดินทางของเครื่องบินตามเวลาจริง
The Thaiger จะพาไปทำความรู้จักกับ Flightradar24 บริการติดตามการเดินทาง/เที่ยวบินของเครื่องบินต่าง ๆ แบบตามเวลาจริง (3 ก.ค. 2565) ข้อมูลข่าวสารถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในโลกปัจจุบันก็ว่าได้ โดยในปัจจุบันนี้ก็มีเครื่องมือ และบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในส่วนนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในนั้นก็คือ Flightradar24 บริการที่ทำการติดตามการเดินทาง หรือเที่ยวบินของเครื่องบิน/สายการบินต่าง ๆ แบบตามเวลาจริง
โดย Flightradar24 (ไฟลท์เรดาห์24) นั้น อย่างที่ได้กล่าวไปว่าเป็นบริการที่ทำการติดตามการเดินทาง หรือเที่ยวบินของเครื่องบิน/สายการบินต่าง ๆ แบบตามเวลาจริง (Real-Time) จากประเทศสวีเดน ซึ่งบริการนี้จะทำการแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไใ่ว่าจะเป็นเส้นทางการบิน (แบบตามเวลาจริง), ต้นทาง-ปลายทาง, เลขประจำเครื่อง/สายการบิน, ประเภทเครื่องบิน และอื่น ๆ อีกมากที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของเครื่องบินที่ต้องการค้นหา
ตัวบริการนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2006 (16 ปีที่แล้ว) ภายใต้ชื่อ Flygbilligt.com ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ และทำการเปิดให้ใช้งานได้อย่างเป็นสาธารณะภายในปี 2009 โดยบริการดังกล่าวนั้น จะอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใช้งานระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ (ADS-B) ในการนำเสนอ ก่อนที่จะเปิดรับข้อมูลจากช่องทางอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Multilateration (MLAT), ระบบดาวเทียม, ข้อมูลจากเรดาห์ของสหรัฐอเมริกา และแคนาดา, FLARM รวมไปถึงข้อมูลจากหน่วยงานด้านการบินของสหรัฐอเมริกา (FAA)
ทางด้านของการทำงานในเบื้องต้นนั้น ตัวบริการจะทำการแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องบิน/สายการบินต่าง ๆ ที่กำลังเดินทาง หรือใช้งานอยู่ ผ่านการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยจะแสดงผลบนแผนที่โลกแบบตามเวลาจริง ซึ่งเครื่องบินที่มาจากข้อมูลดาวเทียมนั้นจะถูกแทนที่ด้วยสัญลักษณ์สีฟ้า และเครื่องบินที่ใช้งานตัวรับสัญญาณจะแสดงผลภายใต้สัญลักษณ์สีเหลือง
ไฟลท์เรดาห์24 เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อปี 2010 โดยสื่อต่างประเทศต่าง ๆ ที่พยายามติดตามเที่ยวบินในบริเวณแอตแลนติกเหนือ และยุโรป หลังจากที่ถูกรบกวนโดยการปะทุของภูเขาไฟ Eyjafjallajökull หลังจากนั้นก็ถูกใช้งานมาเรื่อย ๆ และมีส่วนในเหตุการณ์ทางการบินที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
– การหายตัวของเครื่องบิน สายการบินมาเลเซีย เที่ยวบินที่ 370 (มีนาคม 2014)
– การถูกยิงตกของเครื่องบิน สายการบินมาเลเซีย เที่ยวบินที่ 17 (กรกฎาคม 2014)
– การหายตัวของเครื่องบิน สายการบินแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย เที่ยวบินที่ 8501 (ธันวาคม 2014) ที่ซึ่งมีการเข้าใช้งานมากกว่าปกติถึง 50 เท่า ทำให้เว็บไม่สามารถเข้าใช้งาน หรือมีอาการคอคอดกับผู้ใช้งานบางรายในขณะนั้น
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป