ปตท. ยืดเวลาชำระหนี้ กฟผ. 4 เดือน ลดต้นทุน ค่าไฟฟ้า

ปตท. ยืดเวลาชำระหนี้ กฟผ. 4 เดือน ลดต้นทุน ค่าไฟฟ้า

ข่าวที่ว่า ปตท. ดำเนินการยืดเวลาชำระหนี้มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาทให้กับ กฟผ. เป็นเวลา 4 เดือน เพื่อลดต้นทุน ค่าไฟฟ้า นั้น เป็นความจริง กฟผ. ค่าไฟฟ้า – (26 พ.ค. 2565) ตามที่มีข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ปตท. ช่วยต้นทุนค่าไฟให้ประชาชน ยืดเวลาชำระหนี้ให้ กฟผ. 4 เดือน มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท งดเก็บเบี้ยปรับล่าช้าที่มีกว่า 340 ล้านบาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

จากที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 

ได้แบกรับภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนในการช่วยตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) ตามนโยบายของภาครัฐตั้งแต่ปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์พลังงานโลกที่มีความผันผวนสูง ส่งผลให้ต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้ามีต้นทุนสูงขึ้นมาก ประกอบกับประชาชนยังคงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา จึงมีมติอนุมัติให้ปตท. ร่วมช่วยบรรเทาภาระต้นทุนผลิตไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยการเลื่อนกำหนดชำระเงินค่าก๊าซฯ งวดเดือนพฤษภาคม 2565 มูลค่าประมาณ 13,000 ล้านบาท ออกไปเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยไม่เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยมูลค่าประมาณ 340 ล้านบาทที่จะเกิดขึ้น เพื่อมีส่วนช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับกฟผ. ในการแบกรับต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชน

อย่างไรก็ตาม ปตท. และ กฟผ. ต่างเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน และจากวิกฤตการณ์พลังงานดังกล่าว ทั้งสององค์กรได้หารือร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งจากกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อพิจารณาการจัดหาเชื้อเพลิงสำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายเพื่อลดกระทบต่อประชาชนให้มากที่สุด และคำนึงถึงความมั่นคงทางพลังงานของประเทศตามพันธกิจหลักของทั้งสององค์กร

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ – https://www.pttplc.com/th/Home.aspx หรือโทร. 1365

ส่องอีกครั้ง! สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จาก ธ. ออมสิน (GSB)

กลับมาดูกันอีกครั้งกับ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคาร ออมสิน (GSB) สำหรับบรรดาอาชีพขนาดเล็ก/รายย่อยต่าง ๆ วงเงินกู้สูงสุด 3 แสนบาท

(26 พ.ค. 2565) The Thaiger จะพากลับมาดูกันอีกครั้งกับ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคาร ออมสิน (GSB) สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบอาชีพขนาดเล็ก/รายย่อยต่าง ๆ และขับขี่รถสาธารณะ โดยให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท

ในส่วนของรายละเอียดของโครงการ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคาร ออมสิน (GSB) นั้น มีด้วยกันดังนี้

1. ประเภท และวัตถุประสงค์ของสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคารออมสิน (GSB) เป็นสินเชื่อประเภทเงินกู้ระยะยาว (L/T) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพ หรือเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และบรรเทาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพจากการได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งต้องไม่เป็นการนำไป Refinance สินเชื่อเช่าซื้อ

2. วงเงินกู้ประจำสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพนั้น มีวงเงินที่เปิดให้กู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อราย โดยแยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้

– ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท

– ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท

– ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท

– ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์ จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท

– ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท

3. อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาชำระคืนเงินกู้จากสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate) ตลอดอายุสัญญากู้เงิน และมีกรอบเวลาในการชำระเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) รวมกับระยะเวลาปลอดชำระเงินงวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 6 งวดแรก โดยเริ่มชำระตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นไป จนกว่าจะปิดบัญชีหรือครบสัญญา

4. หลักประกันการกู้สำหรับสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพจะแบ่งหลักเกณฑ์การใช้งานหลักประกันตามกรอบวงเงิน 2 ช่วงดังนี้

– กรณี วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan)

– กรณี วงเงินกู้เกิน 100,000-300,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน โดยบุคคลค้ำประกันจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินกู้

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป