ทูตญี่ปุ่น ชม ‘ประยุทธ์’ กำหนดมาตรการโควิด เชื่อเศรษฐกิจฟื้นตามเป้า

ทูตญี่ปุ่น ชม ‘ประยุทธ์’ กำหนดมาตรการโควิด เชื่อเศรษฐกิจฟื้นตามเป้า

ทูตญี่ปุ่น เอ่ยปากชม ประยุทธ์ กำหนดมาตรการโควิด เชื่อประเทศไทยสามารถเปิดประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ตามเป้าที่วางเอาไว้ นายนาชิดะ คาซูยะ (H.E. Mr. Nashida Kazuya) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นในด้านต่างๆ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับการเข้ารับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นนายคิชิดะ ฟูมิโอะ 

ไทยพร้อมร่วมมือกับนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นเพื่อความสัมพันธ์ที่ก้าวหน้าต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอบคุณประเทศญี่ปุ่นด้วยใจจริงที่มีบทบาทสำคัญสนับสนุนการมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัท AstraZeneca เครื่องผลิตออกซิเจน 868 เครื่อง รวมถึงให้ความร่วมมือด้านห่วงโซ่ความเย็นและเวชภัณฑ์ ต่าง ๆ แก่ไทยเพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์โควิด-19

เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นเสมอมา ยินดีกับนายกรัฐมนตรีที่สถานการณ์โควิด-19 ในไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เชื่อมั่นในการดำเนินนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่จะสามารถควบคุมสถานการณ์ให้ดีขึ้นอีกเป็นไปตามแนวทางการดำเนินนโยบายผ่อนคลายและกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ฝากความปรารถนาดี และความพร้อมที่จะผลักดันความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ในทุกด้านระหว่างญี่ปุ่นกับไทยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งมีกำหนดครบรอบ 135 ปีในปี 2565

ในโอกาสนี้ การหารือเกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายการเข้าเมือง เอกอัครราชทูตฯ ได้สอบถามถึงมาตรการที่ไทยกำหนดและประเทศที่พิจารณาอนุญาต ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการประกาศมาตรการผ่อนคลายให้ชาวต่างชาติซึ่งแน่นอนว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่ไทยให้ความสำคัญมากที่สุด ที่จะพิจารณาให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามขั้นตอน และกรอบเวลา โดยกำหนดมาตรการที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วย ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอให้ญี่ปุ่นสนับสนุนการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการการเข้าเมืองให้กับชาวไทยในกลุ่มต่าง ๆ เช่น นักธุรกิจ แรงงานทักษะ นักศึกษา รวมทั้งนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกัน

ในส่วนของความสัมพันธ์พหุภาคี เอกอัครราชทูตฯ กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน–ญี่ปุ่น ในห้วงปี 2564 – 2567 จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นแน่นแฟ้นมากขึ้น และขอสนับสนุนไทยในเวทีต่างๆ ได้แก่ การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย และการเป็นที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ACPHEED) ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันความพร้อมของไทยที่จะร่วมมือกับญี่ปุ่นในทุกประเด็นเพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวเชิญชวนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่สอดคล้องกับโมเดล เศรษฐกิจ BCG Economy ซึ่งสอดคล้องและจะส่งเสริมกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียว (Green Growth Strategy) ของญี่ปุ่น และหวังว่าจะได้มีโอกาสหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในโอกาสแรกต่อไป

ศธ.แถลงผลตรวจสอบนักสือนิทานภาพ – 10 ราษฎร อยู่ในข่ายควรระวัง

ความคืบหน้าจากกรณีก่อนหน้านี้ที่กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งให้ตรวจสอบหนังสือภาพสำหรับเด็ก ชุดวาดหวังนั้น ล่าสุดวันนี้ 14 ต.ค. 2564 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  นำโดย นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษารัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เเละนโยบาย รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. และนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. แถลงข่าวผลการตรวจสอบ

นางดรุวรรณ กล่าวว่า ในจำนวนหนังสือภาพ 8 เล่ม มี 3 เล่ม คือ “ตัวไหนไม่มีหัว”, “เด็กๆมีความฝัน” และ “แค็ก! แค็ก! มังกรไฟ” จัดเป็นหนังสือดีที่มีประโยชน์ พ่อแม่ สถานศึกษาสามารถซื้อให้เด็ก เยาวชน ลูกหลานอ่านศึกษา ขณะที่ 5 เล่มที่เหลือ ได้แก่ “10 ราษฎ”  “จ.จิตร”,  “แม่หมิมไปไหน?”, “เป็ดน้อย” และ “เสียงร้องของผองนก” ซึ่ง เขียนไว้ชัดเจนว่าจำหน่ายให้ผู้ที่มีอายุ 5-112 ปี มีเนื้อหาที่ต้องระวังหลายเรื่อง หลายอันสื่อความรุนแรง บางเล่ม ใช้รูปแบบการเล่าด้วยภาพ ไม่มีตัวหนังสือ แพทย์เป็นห่วงเรื่องนี้ เพราะ เด็กจะไม่สามาารถตัดสินโลกความจริงกับโลกจินตนาการ อาจนำไปสู่การเลียนแบบ จึงควรระวังในการนำไปใช้สอน

อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ มีหน้าที่เพียงตรวจสอบ ส่วนข้อสรุปไปในทิศทางไหนต่อไปเป็นอำนาจของหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีอำนาจ  นายภูมิสรรค์ กล่าว

“นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ทุกครั้งเพื่อดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งจะได้ติดตามทั้งการต้องรับมือกับทั้งสถานการณ์โควิด -19 และสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ขณะนี้ ที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องไปแล้วทั้งหมด 8 จังหวัด อาทิ จังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี เพชรบุรี ชัยนาท สุโขทัย ชัยภูมิ นนทบุรี นครศรีธรรมราช และในวันพรุ่งนี้ (15 ต.ค. 64) จะนำคณะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนคมปาซุ เพื่อติดตามเตรียมแผนป้องกันและมาตรการต่าง ๆ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดจันทบุรี  นายกรัฐมนตรีกำชับให้ส่วนราชการในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือ อพยพประชาชนในพื้นที่ โดยหากขาดเหลือสิ่งใดให้ทางจังหวัดประสานแจ้งส่วนกลางเข้ามาทันที” นายธนกร กล่าว

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป